การช่วยเหลือและกู้ภัย ของ แผ่นดินไหวในจี๋จี๋ พ.ศ. 2542

ซากจากการถล่มของอาคารตุงซิงในกรุงไทเป

หลังแผ่นดินไหวมีการจัดประชุมฉุกเฉินคณะรัฐมนตรีในทันทีเพื่อรับมือสถานการณ์ที่ตามมา วันเดียวกันนั้นกองทัพไต้หวันได้ระดมพลทหาร รวมทั้งทหารเกณฑ์จำนวนมากไปยังพื้นที่ประสบภัย เพื่อสนับสนุนการแจกจ่ายสิ่งจำเป็นฉุกเฉิน ทำความสะอาดเส้นทาง และช่วยชีวิตผู้ติดอยู่ในซากปรักหักพัง มีการใช้เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงผู้บาดเจ็บจากพื้นที่ภูเขาไปยังโรงพยาบาลและบรรทุกสิ่งจำเป็นไปยังชุมชนที่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก[25] นอกจากนี้กองทัพไต้หวันยังทำหน้าที่หลักคือกู้ร่างผู้เสียชีวิตออกจากซากปรักหักพัง[6]

ผู้ติดอยู่ในซากปรักหักพัง หนึ่งในจำนวนท้าย ๆ ที่ถูกช่วยเหลือ คือเด็กชายอายุ 6 ขวบ ถูกช่วยชีวิตจากซากบ้านของเขาในเทศมณฑลไถจงโดยหน่วยกู้ภัยและค้นหาจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่น เด็กชายติดอยู่ในซากนานกว่า 88 ชั่วโมงหลังเกิดแผ่นดินไหว[26] ยิ่งไปกว่านั้น ภายหลังยังมีการพบสองพี่น้องที่ยังรอดชีวิตอยู่ใต้ซากอาคารตุงซิง (東星大樓) ที่พังถล่มในกรุงไทเปหลังเกิดแผ่นดินไหวไปแล้วกว่า 130 ชั่วโมง ซึ่งทำให้หน่วยกู้ภัยประหลาดใจ โดยสองพี่น้องประทังชีวิตอยู่ใต้ซากด้วยหยดน้ำที่พ่นจากสายฉีดน้ำดับเพลิง ผลไม้เสีย และปัสสาวะของพวกเขาเอง[27]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แผ่นดินไหวในจี๋จี๋ พ.ศ. 2542 http://forms2.rms.com/rs/729-DJX-565/images/eq_chi... http://www.taipeitimes.com/News/front/archives/199... http://www.taipeitimes.com/News/front/archives/199... http://www.taipeitimes.com/News/front/archives/199... http://www.taipeitimes.com/News/rescue/archives/19... http://www.eeri.org/lfe/pdf/taiwan_chi_chi_eeri_pr... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...